วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรียน VB.Net

ความรู้เบื้องต้นในการใช้งานและสภาพแวดล้อมของ Visual Studio .NET
หลังจาก install เสร็จแล้ว เมื่อเปิดโปรแกรม Microsoft Visual Studio .NET (ต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆว่า .net) ขึ้นมา ในครั้งแรกจะพบกับหน้า Start Page โดยจะมีส่วนที่สำคัญคือ Get Started ซึ่งจะช่วยให้เปิดโปรเจคเก่าและใหม่ได้เร็วขึ้น

การเปิดโปรเจคใหม่ทำได้ 2 วิธี
1. เลือก menu filee newe project
2. กดที่ปุ่ม New ในหน้าจอ Get Started
หน้าจอ New Project ที่ Location ควรจะสร้างโฟล์เดอร์ขึ้นมา และตั้งชื่อโปรเจกให้สื่อความหมายจากนั้นโปรแกรมก็จะทำการสร้างโฟล์เดอร์ขึ้นมาตามชื่อ Location และมีจำนวนไฟล์มากมายที่เกิดขึ้น แต่ไฟล์ที่สำคัญที่ใช้เปิดโปรเจ็คในครั้งต่อไปคือไฟล์เป็นชื่อโปรเจคที่มีนามสกุล .sln

ชนิดของโปรเจกที่สำคัญมี 3 รูปแบบ
1. Windows Application สร้างโปรแกรมเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows
2. ASP.NET Web Application สร้างโปรแกรมเพื่อทำงานบนInternet
3. ASP.NET Web Service สร้างหน้าจอกับส่วนของลอจิกแยกจากกัน และทำงานผ่าน InternetToolBar ใน.NET ที่สำคัญที่สุดคือ Standard Toolbar
การปิดเปิด Toolbar ให้คลิกขวาตรงToolbar และเลือก Toolbarที่ต้องการ

การเซตสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
1. เซตShort cut key
2. ลักษณะหน้าต่างของ Form Editor
3. การเซตตัวอักษร

Menu Toolse ไปที่ Optionse ไปที่ Enviromente
1. การเซตshort cut keyKeyboard เลือกตรงบริเวณ Keyboard mapping scheme เป็น Visual Basic 6
2. การเซตลักษณะหน้าต่างของ Form EditorGeneral ตรงบริเวณ Setting เลือก Tabbed documents หรือ MDI environment
3.การเซตตัวอักษรFonts and Colors เลือกฟอนต์ที่แสดงผลภาษาไทยได้และมีการเว้นบรรทัดไม่มาก เช่น Microsoft Sans Serif หรือ MS Sans Serif ขนาด 10

แนะนำหน้าต่าง(Windows Tool)
1. Solution Explorer บางครั้งเรียกสั้นๆว่า Explorer
2. Toolbox
3. Form Editor
4. Properties
5. Code Editor

2. Toolbox จะขยายออกมาให้เลือกรายการ เมื่อนำเมาส์เลื่อนไปตรงแถบของ Toolbox จากนั้นจะเลื่อนกลับ สภาพเดิมเมื่อเมาส์เลื่อนจากไป ตรงหัวด้านบนของ Toolbox สามารถที่จะใช้หมุดปักให้อยู่นิ่งได้
3. Form Editor
มี 2 รูปแบบ Tabbed documents และ MDI environmentMenu Tools==>Options==>Environment==>General==>ตรงบริเวณ Settingsการสลับไปมา 2 โหมดนี้จะต้องทำการปิดและเปิดโปรแกรม .net ใหม่ ตรงบริเวณ Form Editor ในเวอร์ชัน .net นี้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่คือ มีลักษณะที่แต่ละฟอร์มที่เปิดมาจะเป็น tab เพื่อแยกแยะในแต่ละหน้าต่าง เราเรียกลักษณะนี้ว่า Tabbed documents ก็จะทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถเปิดหน้าต่าง Form แต่ละตัวขึ้นมาทำงานและสลับไปมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียของลักษณะนี้คือระบบจะทำงานช้า เพราะกินทรัพยากรของเครื่องค่อนข้างสูง ดังนั้นขอแนะนำว่าถ้าเครื่องทำงานช้าให้กลับไปใช้ MDI environment

แป้นลัดที่ควรจดจำ Short cut key
VB.NET มีshort cut key อยู่หลายกลุ่ม ทั้งนี้เพราะ IDE ตัวนี้พัฒนาได้หลายภาษา Microsoft จึงจัดกลุ่ม short cut key ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ทั้ง short cut key ของ .NET เอง และ short cut key ของแต่ละภาษาโปรแกรมในที่นี้อยากจะแนะนำให้ใช้ short cut key ของ Visual Basic เดิม

Short Cut Key ที่ต้องจดจำและใช้บ่อยๆมีดังนี้
เกี่ยวกับการหน้าต่าง
1. ctrl+r เปิดหน้าต่าง Explorer (แต่เมื่ออยู่ที่ หน้าต่าง Code Editor จะใช้short cut key นี้ไม่ได้)
2. F7 เปิด Code Editor
3. shift+F7 เปิดหน้าต่าง Form Editor
4. F4 เปิดหน้าต่าง property
5. ctrl+alt+x เปิดหน้าต่าง Toolbox (เป็น short cut ที่ไม่เคยมีใน VB 6.0)
เกี่ยวกับการเขียนโค้ด
1. ctrl+y ลบบรรทัดทิ้ง
2. ctrl+spacebar เรียกคำสั่งหรืออ็อปเจ็คที่ใกล้เคียงมาให้เลือก
3. F5 สั่งทำงาน

วัตถุ(Objects) แบ่งเป็น
1. Form หน้าจอของโปรแกรมที่แสดงในลักษณะของหน้าต่าง
2. Control ส่วนประกอบของหน้าจอที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้เช่น Button, TextBox, Label และอื่นๆวัตถุ(Objects) จะต้องมี1. Property คุณสมบัติ คุณลักษณะต่างๆ เช่น Name, Text, Backcolor, Forecolor2. Event เหตุการณ์ที่ตัววัตถุจะรับรู้ได้ เช่น Click
3. Method พฤติกรรมที่วัตถุจะแสดงออกมาได้ เช่น Focus, Dispose

คุณสมบัติ(Property)พื้นฐานมีดังนี้
1. Name ชื่อของวัตถุ VB จะตั้งชื่อให้วัตถุในตอนเริ่มต้น โดยใช้ชื่อคอนโทรลตามด้วยตัวเลข
2. Text ข้อความที่ปรากฏในคอนโทรล
3. Backcolor สีพื้น
4. Forecolor มักจะหมายถึงสีของข้อความบนคอนโทรล
5. Cursor รูปแบบเคอร์เซอร์ เมื่อนำเมาส์เคลื่อนที่อยู่เหนือคอนโทรลจะเปลี่ยนรูปไปตามที่เลือก
6. Enabled สั่งให้คอนโทรลทำงานได้หรือไม่ได้
7. Font รูปแบบของตัวอักษรที่ปรากฏบนคอนโทรล
8. Location ตำแหน่งการวางคอนโทรลประกอบด้วยแนว x และ y
9. Locked ถ้าถูกเลือกให้เป็น true คอนโทรลจะเคลื่อนไม่ได้ในตอนdesign
10. Size ขนาดของคอนโทรล ประกอบด้วย width และ length
11. Visible การมองเห็นคอนโทรลคุณสมบัติบางอย่างเมื่อเซตจะเห็นผลทันทีเช่น Text, Backcolor แต่บางอย่างจะต้องสั่งทำงานจึงจะเห็น เช่น Enabled, Visible

ลักษณะของหน้าต่าง Code Editor
1. ส่วนเลือกวัตถุ เรียกว่า class name
2. ส่วนเลือกเหตุการณ์ เรียกว่า method nameเลือกเหตุการณ์ให้กับวัตถุส่วนเลือกเหตุการณ์ เรียกว่า method name-เลือกวัตถุที่ต้องการ-รับเหตุการณ์เมื่อต้องการเขียนโค้ดจะต้องนึกก่อนเสมอว่าจะใช้เหตุการณ์บนวัตถุตัวใด และเลือกจากส่วน class name และ method name ห้ามทำการพิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะจะผิดพลาดได้ง่ายและผิดหลักการการเขียนโปรแกรม

ไม่มีความคิดเห็น: